วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555



                                     การปลูกพืชผักสวนครัว



                                            ความเป็นมา                                                      

           ผักเป็นอาหารประจำวันของมนุษย์ เป็นแหล่งอาหารให้แร่ธาตุวิตามินที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์จากข้อมูลวิจัยกล่าวว่า มนุษย์เราควรบริโภคผักวันละประมาณ 200 กรัม เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุและวิตามินอย่างเพียงพอผลการวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเชีย ชี้ให้เห็นว่าประชากรของประเทศไทย โดยเฉพาะ สตรีมีครรภ์และพวกเด็กๆ มักขาดแคลนแร่ธาตุวิตามินกันมาก ประกอบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบ ทำให้มีค่าครองชีพสูงขึ้น ดังนั้นกรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้มีการรณรงค์ให้มีการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเองในครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีพืชผักเพียงพอแก่การบริโภคในครัวเรือน ทำให้ได้รับสารอาหารครบตามความต้องการของร่างกาย และช่วยลดภาวะค่าครองชีพ
          การปลูกพืชสวนครัวนั้นไม่ยากเลย ถ้ามองไปรอบด้านภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นบ้านในเมืองใหญ่ เมืองหลวง หรือบ้านในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ล้วนละลานตาไปด้วย "บ้านไทย" ซึ่งไม่ต้องอาศัยเครื่องปรับอากาศ ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีเหมือนทุกวันนี้ ซึ่งฝรั่งที่ตั้งใจมาเมืองไทยเพราะต้องการ ด ู"บรรยากาศไทยๆ" ดังที่เคยเห็นในหนังสือ ตอนนี้เขบอกว่าบรรยากาศอย่างนี้ ต้องไปดู ที่ลาว ที่เขมรแทน เพราะเมืองไทยไม่ต่างจากเมืองเขาเท่าไหร่นัก บางแห่งดูจะยิ่งกว่า ด้วยซ้ำ ฝรั่ง คนนั้นจึงต้องกลับไปเที่ยว-นอนที่เขมร ลาวแทน เขาบอกว่าบ้านไทย ย้ายไปอยู่ ที่นั่น ด้วยเหตุนี้จึงเกิดความคิดว่า น่าจะบอกเล่าเรื่องนี้ให้เกษตรกรไทยฟัง ให้เขารื้อฟื้น ความเป็นไทยกลับขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นทางออก พ้นจากความเป็นหนี้ นั่นคือเรื่อง "รั้วกินได้-สวนครัวทำเอง" ที่เราเคยพบเคยเห็นความเป็นมาแล้วในอดีตสมัย เด็กๆ เพื่อล้างและป้องกันนิสัยชอบไปซื้อกิน เอาอย่างความเจริญด้านวัตถุ คือแทนที่ จะปลูกเอง ทั้งๆ ที่มีที่ดินเพาะปลูกอยู่แล้ว กลับนิยมไปซื้อตามห้าง ศูนย์การค้า ฯลฯ ทำรั้วอัลลอยด์ รั้วเหล็ก รั้วปูน ฯลฯ แทนรั้วไม้ รั้วพืชยืนต้น พืชกินได้ ผักสวนครัว หรือพืชสวนครัว เช่น พริก กระเพรา โหระพา แมงลัก ตะไคร้ มะกรูด พริกไทย มะอึก มะนาว (กะปิ น้ำปลา น้ำตาล) รั้วกินได้เช่น ตำลึง ขจร โสน ถั่วพู มันปู กระถิน มะขามเทศ บวบ ฟักเขียว มะระ มะเขือเครือ ไผ่ น้ำเต้า ฟักข้าว ผักแป๋มการปลูกพืชสวนครัวเหล่านี้ คือแนวทางประกอบการพิจารณาเลือกปลูกพืชผสม พืชหลายชนิดใช้ทำประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่งอย่างหรือเอนกประสงค์ หากเลือกปลูกพืชผสมหลายอย่างในพื้นที่เดียวกันต้องอาศัยคำแนะนำทางวิชาการ และประสบการณ์ หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน เพราะพืชบางชนิดจะปลูกร่วมกันได้ บางชนิดไม่ได้ การประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกผักสวนครัวลดรายจ่ายด้านอาหารในครอบครัว เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกาดำเนินชีวิตทางสายกลาง ยึดหลักการพึ่งพาตนเองการเกษตรดั้งเดิมของไทย ที่ปฏิบัติกันมานานชั่วลูกหลาน ก็คือ การเกษตรธรรมชาติ การเกษตรอินทรีย์ การเกษตรชีวภาพ การวนเกษตร ซึ่งอ่านดูชื่อแล้วเราอาจจะไม่คุ้นเคย หรือไม่เข้าใจ จึงขอสรุปให้ทราบว่า เป็นการเกษตรแบบโบราณเรานั่นเอง คือ ใช้แรงงานจากคน จากสัตว์เลี้ยง ปุ๋ยที่ได้ก็เกิดจากมูลสัตว์ ใบไม้ใบตองนำมากองสุมหมักไว้เมื่อเน่าเปื่อยก็นำไปใส่ต้นไม้ หรือไร่นา ส่วนพืชที่ปลูกก็คือ พืชที่เป็นอาหารประจำวัน เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่ว งา การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้


                           ข้อดีของการปลูกผักสวนครัว                                   
               
      
           ผักเป็นอาหารประจำวันของมนุษย์ เป็นแหล่งอาหารให้แร่ธาตุวิตามินที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์จากข้อมูลวิจัยกล่าวว่า มนุษย์เราควรบริโภคผักวันละประมาณ 200 กรัม เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุและวิตามินอย่างเพียงพอผลการวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเซีย ชี้ให้เห็นว่าประชากรของประเทศไทย โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์และพวกเด็ก ๆ มักขาดแคลนแร่ธาตุวิตามินกันมาก ประกอบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบทำให้มีค่าครองชีพสูงชึ้น ดังนั้นกรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้มีการรณรงค์ให้มีการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเองในครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีพืชผักเพียงพอแก่การบริโภคในครัวเรือน ทำให้ได้รับสารอาหารครบตามความต้องการของร่างกายและช่วยลดภาวะค่าครองชีพ






                             การเลือกสถานที่ปลูก                                        



        1. การเลือกสถานที่หรือทำเลปลูก ควรเลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดอยู่ใกล้แหล่งน้ำและไม่ไกลจากที่พักอาศัยมากนักเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานด้านการปลูก การดูแลรักษาและสะดวกในการเก็บมาประกอบอาหารได้ทันทีตามความต้องการ  
      2. การเลือกประเภทผักสำหรับปลูก ชนิดของผักที่จะปลูกควรคำนึงถึงการใช้เนื้อที่ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด โดยการปลูกผักมากชนิดที่สุดเพื่อจะได้มีผักไว้บริโภคหลายๆ อย่าง ควรเลือกชนิดของผักที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและปลูกให้ตรงกับฤดูกาล ทั้งนี้ควรพิจารณาเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพันธุ์ วันเสื่อมอายุ ปริมาณหรือน้ำหนัก โดยดูจากสลากข้างกระป๋องหรือซองที่บรรจุเมล็ดพันธุ์ ซึ่งจะทำให้ทราบว่าเมล็ดพันธุ์นั้นใหม่หรือเสื่อมความงอกแล้ว เวลา วันที่ผลิตถึงวันที่จะซื้อ ถ้ายิ่งนานคุณภาพเมล็ดพันธุ์จะลดลง



                                   ผลผลิตที่ได้                                             


       การเก็บเกี่ยวผักควรเก็บในเวลาเช้าจะทำให้ได้ผักสดรสดี และหากยังไม่ได้ใช้ให้ล้างให้สะอาด และนำเก็บไว้ในตู้เย็น สำหรับผักประเภทผลควรเก็บในขณะที่ผลไม่แก่จัดจะได้ผลที่มีรสดีและจะทำให้ผลดก หากปล่อยให้ผลแก่คาต้น ต่อไปจะออกผลน้อยลง สำหรับในผักใบหลายชนิด เช่น หอมแบ่ง ผักบุ้งจีน คะน้า กะหล่ำปี การแบ่งเก็บผักที่สดอ่อนหรือโตได้ขนาดแล้ว โดยยังคงเหลือลำต้นและรากไว้ไม่ถอนออกทั้งต้น รากหรือต้นที่เหลืออยู่จะสามารถงอกงาม ให้ผลได้อีกหลายครั้ง ทั้งนี้จะต้องมีการดูแลรักษาให้น้ำและปุ๋ยอยู่ การปลูกพืชหมุนเวียนสลับชนิดหรือปลูผักหลายชนิดในแปลงเดียวกัน และปลูกผักที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นบ้างยาวบ้างคละกันในแปลงเดียวกัน หรือปลูกผักชนิดเดียวกันแต่ทยอยปลูกครั้งละ 3-5 ต้น หรือประมาณว่าพอรับประทานได้ในครอบครัวในแต่ละครั้งที่เก็บเกี่ยว ก็จะทำให้ผู้ปลูกมีผักสดเก็บรับประทานได้ทุกวันตลอดปี